วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สำรองข้อมูล (Backup) โกสท์วินโดว์ (Ghost Windows) ด้วย Norton Ghost v.15.0

          ประโยชน์ของการแบ็คอัพหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "โกสท์ (Ghost)" Ghost Windows  จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากว่าวันใดวันหนึ่งคอมพ์คุณเกิดอาการบูตวินโดวส์ไม่ได้หรือเข้าวินโดวส์ไม่ได้ อาการที่เป็นคือมันจะให้กด Ctrl+Alt+Del เพื่อรีสตาร์ทแต่มันก็หาไฟล์บูตวินโดวส์ไม่ได้อยู่ดี หรือบางทีให้กด R เพื่อทำการ Repair แต่ถ้าเราใช้วิธีแบ็คอัพจะดีกว่าเร็วกว่า(ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล)ง่ายกว่า ข้อมูลครบด้วยแต่ข้อมูลที่ได้จะเป็นวันที่เราทำการแบ็คอัพเก็บไว้ ก็คือข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆที่บันทึกไว้ในไดร์ที่ทำการแบ็คอัพจะอยู่ครบ โปรแกรมนี้สามารถแบ็คอัพข้อมูลและนำกลับมาใช้ใหม่ไม่เฉพาะวินโดวส์แล้วแต่จะประยุกต์ใช้ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าเหมาะกับการสำรองวินโดวส์ไว้ใช้ตอนฉุกเฉินมากกว่าไม่ต้องลงใหม่ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ดี แล้วไฟล์ปัจจุบันข้อมูลปัจจุบันล่ะทำไง ก็ต้องเอาฮาร์ดดิสไปจัมพ์บ้างละหรือใช้ Software บ้างละแล้วแต่ถนัด ส่วนใหญ่แล้วผมจะแนะนำเขาไปว่าพยายามอย่าเก็บอะไรไว้ Drive C
          ก่อนอื่นให้เตรียมแผ่น Norton Ghost โดยในเนื้อหานี้จะใช้เวอร์ชัน 15 จะแตกต่างกับเวอร์ชันเก่าคือหน้าตาและนามสกุล ซึ่งเวอร์ชั่นเก่าจะเป็น .GHO ส่วนเวอร์ชันนี้เป็น .v2i และไม่สามารถนำไฟล์ .GHO มาทำการในเวอร์ชันนี้ได้หรือมันไม่รู้จัก ให้สังเกตุง่ายๆว่าโปรแกรมทุกโปรแกรมเมื่อเวลาเราจะบันทึกหรือเปิดจะมีช่องของไฟล์นามสกุลอยู่ ขอฝากไว้นิดๆว่า ทำการแบ็คอัพวินโดวส์ช่วงที่คุณคิดว่าวินโดวส์ใช้งานได้ดีไม่มีไวรัส ซึ่งถ้ามีไวรัสแล้วแน่นอนว่าการแบ็คอัพก็จะมีไวรัสติดมาด้วย เมื่อเตรียมเสร็จแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

1. ใส่แผ่นและเข้าไปที่ไบออสตอนบูทเครื่องส่วนใหญ่จะกด Del แล้วไปที่ Boot / Boot Device Priority







* จะมีข้อความบอกว่าเลื่อนกดปุ่มไหน






2. เลือกให้อันดับแรกเป็น CDROM อันดับสองเป็น Hard Drive









3. ทำการบันทึกและออกโดยไปที่ Exit หรือกด F10








4. เครื่องกำลังบูตและขี้นข้อความดังรูปให้กดปุ่มใดๆสักปุ่มเพื่อบูตจาก CD หรือ DVD





5. เครื่องจะทำการบูตจากแผ่นรอจนกว่าจะเห็นหน้าต่างดังรูปแล้วคลิก Accept


















6. หลังจากคลิกแล้วก็จะมีหน้าต่างโผล่ขึ้นมาเป็นแผงควบคุมของโปรแกรมนั่นเองและนี่ก็คือหน้าตาของโปรแกรม Norton Ghost 15.0


 คลิกที่ Back Up My Computer













7. จากขั้นตอนที่ 6 คลิก Next จะได้ดังรูปด้านล่าง


จะเห็นว่า Title Bar เป็น Back Up My Computer Wizard
จากรูปจะต้องทำการติ๊กช่องก่อนว่าจะเลือกไดร์ไหนในการสำรอง (Back Up) ถ้าไม่เลือกก็ไม่สามารถคลิก Next ได้













8. เลือกไดร์ที่ต้องการแบ็คอัพแล้วคลิก Next


ตรงนี้สำคัญที่ว่าต้องมีไดร์สำหรับเก็บข้อมูล ในรูปเป็นการแบ็คอัพไดร์ C และให้ไดร์ D เก็บ ไม่สามารถแบ็คอัพและเก็บได้ในไดร์เดียวกัน แต่ถ้ามีมากกว่า 2 ไดร์ ก็สามารถแบ็คอัพได้ทุกไดร์แต่ยกเว้นไว้ไดร์เดียวสำหรับเก็บ













9. ทำตามขั้นตอน


 สร้างจุดหมายปลายทางเพื่อเก็บ

















10. เสร็จจากขั้นตอน 9 จะมีหน้าตาดังรูปและคลิก Next ไป


ตำแหน่งที่ Pointer ชี้คือไดร์ฟที่ทำการแบ็คอัพ สามารถเปลี่ยนชื่อได้
















11.ทำตามรูปเสร็จแล้วคลิก Next


ทำตามขั้นตอนเสร็จคลิก Next

















12.คลิก Finish


จะเห็นเครื่องหมายกากะบาทในช่องเป็นผลมาจากที่เราติ๊กมาจากขั้นตอนที่ 11
















13.แบ็คอัพ


จะบอกเวลาที่เหลือโดยประมาณ


















14.เสร็จแล่ววว


ใช้เวลาไป 2 นาที กับปริมาณไฟล์ 2 GB

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิดคอมไม่ติด แก้ไขอาการเสียคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1.  ส่วนฮาร์ดแวร์
1.1 เสียงไบออส
               
สิ่งนี้ถือว่าเป็นปรอท วัดอาการป่วยของคอมพิวเตอร์ที่เป็นอยู่ว่าเกิดจากสาเหตุใด  ถ้าเปิดเครื่องแล้วมีเสียงแต่หน้าจอไม่ติดก็ยังอุ่นใจกว่าไม่มีเสียงเลย  วิธีฟังเสียงเวลาเราเปิดเครื่องขึ้นมาจะได้ยินเสียง Bios (Beep Code) ซึ่งจะมีเสียงต่างๆดังนี้          

      
        -  ดังบิ๊ฟ 1 ครั้งเครื่องปกติ
        -  ดังบิ๊ฟประมาณสองวินาทีดับอีกสองวินาทีดับ (บิ๊ฟ..บิ๊ฟ..บิ๊ฟ..ต่อเนื่อง ) Ram หลวม  *เครื่องไม่ติด
        -  ดัง บิ๊ฟ..บิ๊ฟๆๆๆๆ ลักษณะนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก การ์ดจอหลวม  *เครื่องไม่ติด
        -  ดังเสียงเหมือนไซเรนรถพยาบาล อาการนี้เกิดจากไม่ได้ติดตั้งซีพียู หรือติดตั้งไม่ดีควรเช็คอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 45 °C    *อาจติดหรือไม่ติดก็ได้
        -  มีเสียงดังบิ๊ฟมากกว่าหนึ่งครั้งแต่เครื่องติด ซึ่งก็อาจจะเป็นการเตือนให้ดูการแจ้งเตือนตอนเครื่องบูต
        -  ไม่มีเสียงเลย เท่าที่เคยเจอบางเครื่องไม่มีเสียงเลยแต่หน้าจอดันติดทั้งที่ลำโพงไบออสก็มีโดยส่วนตัวคิดว่าเมนบอร์ดนั้นไม่ได้คุณภาพ
       * หากว่าไม่มีเสียงเลยเมื่อทดลองถอดแรมออกแล้วให้วิเคราะห์เบื้องต้นได้เลยว่าเมนบอร์ดพัง แต่ถ้าคุณมีเวลาก็อาจลองต่ออุปกรณ์ 7 อย่างคือ Power Supply, Motherboard , VGA Card , Ram, Monitor , Mouse , Keyboard  ดูสิว่าหน้าจอติดหรือเปล่า


     ต่อไปหลังจากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีอาการของเสียงดังที่ได้กล่าว  ให้ถอดอุปกรณ์นั้นออกมาและเช็คดูที่หน้าสัมผัสทองแดงว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือฝุ่นเกาะหรือไม่  ถ้าไม่มีก็ให้ใส่ใหม่ให้แน่นแต่ถ้ามีให้ใช้แปรงปัดฝุ่นออก  แต่ถ้าเป็นคราบติดแน่นให้ใช้ยางลบถูเบาๆไปในทิศทางเดียวกัน  ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้เพราะจะทำให้หน้าสัมผัสทองแดงจาง  การทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือใช้น้ำยาล้างคอนแทคซึ่งหาซื้อได้ตามบ้านหม้อหรือร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
1.2  ไฟคีย์บอร์ด
        คีย์บอร์ดสามารถบอกอะไรคุณได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปกติหรือไม่  แล้วถ้าปกติมันเป็นยังไง  ถ้าไม่ปกติคือไฟ Num Lock ค้าง ถ้าปกติเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ลองสังเกตุไฟที่คีย์บอร์ดซึ่งจะมีไฟ Num Lock , Caps Lock , Scroll Lock ว่าเป็นลักษณะใด  จะเห็นได้ว่าไฟทั้งสามปุ่มจะติดตอนบูตวินโดว์แล้วดับไปนี่คือปกติหรือตอนที่เครื่องบูตแล้วลองกดปุ่ม Num Lock  ดูแล้วไฟติดกดอีกทีไฟดับก็ปกติเช่นกัน  การจะทดสอบกรณีนี้ใช้เมื่อจอไม่ติดถ้าจอไม่ติดแต่กดปุ่มแล้วไฟติดแสดงว่าจอหรือการ์ดจอเสียแต่ถ้าปล่อยสาย connect ของจอไว้แล้วเปิดสวิทช์จอมีข้อความ No Signal ก็แสดงว่าจอไม่ได้เสีย  และการทดสอบกรณีนี้เพื่อต้องการทดสอบเคสเช็คว่าอุปกรณ์ภายในเคสทำงานได้ปกติ

1.3  ไฟหน้าเคส
       ที่เคสจะมีไฟสีแดงและสีเขียว  สีแดงบ่งบอกการทำงานของฮาร์ดดิส  สีเขียวแสดงถึง Power การสังเกตุกรณีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับหัวข้อ 1.2  และสามารถสังเกตุได้พร้อมกัน  โดยปกติเมื่อเปิดเครื่องจะเห็นไฟสีเขียวติดตลอด แต่ไฟสีแดงจะกระพริบ  แต่ถ้าไม่ปกตินั่นคือไฟแดงค้างตลอดหรือเวลากดปุ่มวินโดว์ที่คีย์บอร์ด (ที่เป็นรูปธงโลโก้ของวินโดว์ตำแหน่งอยู่ถัดจากปุ่ม Alt,Ctrl )แล้วไฟแดงไม่กระพริบ
1.4 Power Supply

กรณีที่กดปุ่มเปิดเครื่องแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นเหมือนไม่ได้ทำอะไร  ไฟไม่ติดพัดลมไม่หมุน สาเหตุมาจากตัวจ่ายไฟ  สามารถทดสอบได้โดยการถอดหัวจัมพ์ที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์ทุกจุดออก แล้วให้นำสายสีเขียวกับสีดำมาช็อตกัน  ถ้าพัดลมของตัวจ่ายไฟหมุนนั่นก็แสดงว่าใช้ได้แต่ไม่เสมอไป ถ้าให้ชัวร์ที่สุดต้องใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าวัดไฟที่ออกมาซึ่งยุ่งยาก เอามาเสียบดูถ้าติดก็ใช้ได้ไม่ติดก็ใช้ไม่ได้ง่ายกว่า  ก่อนนำไปใช้งานต้องมั่นใจว่าสายไฟทุกจุดไม่หลุดหรือขาด



 2. ส่วนซอฟแวร์
        ถ้าหากว่าเปิดเครื่องแล้วผ่านในส่วนฮาร์ดแวร์สามารถบูตได้หน้าจอติดเข้า bios ได้  ให้เข้าไปเช็คในไบออสในส่วนของอุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า เช็คอุปกรณ์เช่นอาร์ดดิส ซีดีรอมไดร์ ว่าเห็นหรือไม่ เมื่อเช็คว่าผ่านแล้วก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
        ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นการลงวินโดว์ไม่ผ่าน  ซึ่งจะมีปัญหาการบูตไม่ได้บ้าง จอฟ้าบ้าง ลงไม่สมบูรณ์บ้าง ต่างๆนาๆ เราลองมาดูกันว่าปัญหาเกิดจากอะไรมีวิธีแก้อย่างไร
2.1  บูตแผ่นไม่ได้
       ให้เข้าไปที่ไบออสเช็คว่า  first boot เป็นซีดีรอมไดร์หรือไม่และ second boot เป็นฮาร์ดดิส  แต่ถ้าตั้งค่าตามนี้แล้วยังไม่ยอมบูตแผ่น  ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่เป็นไปได้ว่าแผ่นไม่ได้สร้างแบบบูตได้ การทดสอบว่าแผ่นบูตได้หรือไม่นั้นให้ลองเปิดแผ่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ปกติและเมื่อใส่แผ่นเข้าไปมันจะ autorun เองโดยที่เราไม่ได้คลิกเปิดแผ่น

2.2  วินโดว์ไม่ support

หลังจากผ่านข้อ 2.1 แล้วแต่กลับมีข้อความขึ้นแปลได้ว่าไม่สามารถทำต่อได้ต้องมั่นใจว่าเป็นแผ่นวินโดว์ตัวใหม่ที่ support กับฮาร์ดดิสแบบ sata



 2.3  การก็อปปี้สะดุด

การก็อปปี้ไฟล์จะต้องไหลลื่นไม่สะดุดแต่ถ้าสะดุดแล้วสามารถก็อปได้ 100 % ก็โอเค  แต่ถ้าต้องข้ามการก็อปปี้นั้นไม่ควรทำ  สาเหตุนี้เกิดจากซีดีรอมไดร์หรือแผ่นไม่สามารถอ่านได้ให้เปลี่ยนแผ่นดูก่อนว่าผ่านหรือไม่










2.4  จอฟ้า (Blue Screen)


ให้แปลตามโค๊ตที่ปรากฏ 0x000000XX