วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำจำกัดความ

อาจจะงงกับคำที่ใช้เรียกต่างๆนาๆ ยกตัวอย่างเช่น แบ็คอัพ โคลนนิ่ง โกสท์ อิมเมจ
แบ็คอัพ  คือการสำรอง ไฟล์ โปรแกรม ไดร์เวอร์ เพื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่
โคลน     คือการก็อบเอาทั้งฮาร์ดดิส
โกสท์     คือการก็อปวินโดว์
อิมเมจ    คือ กรรมวิธีก็อปโดยเป็นนามสกุลนึงไว้ส่วนใหญ่เป็น .iso
แต่แท้ที่จริงแล้วมันคล้ายกันจนกลายเป็นอันเดียวกัน แต่จะให้เรียกเป็นศัพท์เฉพาะก็จะเป็นลักษณะนี้

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คืนค่าแบ็คอัพ (Recovery) .v2i

ถัดจากการแบ็คอัพแล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องนำกลับมาใช้วิธีขั้นตอนนั้นไม่ยาก ต้องบรรยายเป็นรูป

1. ทำขั้นตอนเหมือนการแบ็คอัพจนเข้าสู่หน้าต่างนี้

นำเมาส์ไปคลิกที่ Recover My Computer

















2. ขั้นตอนนั้นง่ายๆเหมือนว่าเราจะเปิดฟังเพลงก็ไป Browse หา

คลิกที่ Browse เลือกที่แบ็คอัพไว้แล้วคลิก Open จากนั้น Next สังเกตุว่าไตเติ้ลบาร์เป็น Revover ....


















3. ตรงนี้มีอะไรให้น่าสนใจ

ที่ปุ่ม Edit สามารถแก้ไขได้ว่าต้องการคืนค่าไว้ที่ไหน อ้อ! อย่าลืมติ๊กช่องสี่เหลี่ยมให้เป็นสีเขียวด้วยล่ะ













4. เหมือนเดิมคลิก Finish แล้วก็รอสักแปบ..เป็นอันเสร็จคลิก Exit บูทเข้าวินโดวส์

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สำรองข้อมูล (Backup) โกสท์วินโดว์ (Ghost Windows) ด้วย Norton Ghost v.15.0

          ประโยชน์ของการแบ็คอัพหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "โกสท์ (Ghost)" Ghost Windows  จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากว่าวันใดวันหนึ่งคอมพ์คุณเกิดอาการบูตวินโดวส์ไม่ได้หรือเข้าวินโดวส์ไม่ได้ อาการที่เป็นคือมันจะให้กด Ctrl+Alt+Del เพื่อรีสตาร์ทแต่มันก็หาไฟล์บูตวินโดวส์ไม่ได้อยู่ดี หรือบางทีให้กด R เพื่อทำการ Repair แต่ถ้าเราใช้วิธีแบ็คอัพจะดีกว่าเร็วกว่า(ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล)ง่ายกว่า ข้อมูลครบด้วยแต่ข้อมูลที่ได้จะเป็นวันที่เราทำการแบ็คอัพเก็บไว้ ก็คือข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆที่บันทึกไว้ในไดร์ที่ทำการแบ็คอัพจะอยู่ครบ โปรแกรมนี้สามารถแบ็คอัพข้อมูลและนำกลับมาใช้ใหม่ไม่เฉพาะวินโดวส์แล้วแต่จะประยุกต์ใช้ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าเหมาะกับการสำรองวินโดวส์ไว้ใช้ตอนฉุกเฉินมากกว่าไม่ต้องลงใหม่ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ดี แล้วไฟล์ปัจจุบันข้อมูลปัจจุบันล่ะทำไง ก็ต้องเอาฮาร์ดดิสไปจัมพ์บ้างละหรือใช้ Software บ้างละแล้วแต่ถนัด ส่วนใหญ่แล้วผมจะแนะนำเขาไปว่าพยายามอย่าเก็บอะไรไว้ Drive C
          ก่อนอื่นให้เตรียมแผ่น Norton Ghost โดยในเนื้อหานี้จะใช้เวอร์ชัน 15 จะแตกต่างกับเวอร์ชันเก่าคือหน้าตาและนามสกุล ซึ่งเวอร์ชั่นเก่าจะเป็น .GHO ส่วนเวอร์ชันนี้เป็น .v2i และไม่สามารถนำไฟล์ .GHO มาทำการในเวอร์ชันนี้ได้หรือมันไม่รู้จัก ให้สังเกตุง่ายๆว่าโปรแกรมทุกโปรแกรมเมื่อเวลาเราจะบันทึกหรือเปิดจะมีช่องของไฟล์นามสกุลอยู่ ขอฝากไว้นิดๆว่า ทำการแบ็คอัพวินโดวส์ช่วงที่คุณคิดว่าวินโดวส์ใช้งานได้ดีไม่มีไวรัส ซึ่งถ้ามีไวรัสแล้วแน่นอนว่าการแบ็คอัพก็จะมีไวรัสติดมาด้วย เมื่อเตรียมเสร็จแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

1. ใส่แผ่นและเข้าไปที่ไบออสตอนบูทเครื่องส่วนใหญ่จะกด Del แล้วไปที่ Boot / Boot Device Priority







* จะมีข้อความบอกว่าเลื่อนกดปุ่มไหน






2. เลือกให้อันดับแรกเป็น CDROM อันดับสองเป็น Hard Drive









3. ทำการบันทึกและออกโดยไปที่ Exit หรือกด F10








4. เครื่องกำลังบูตและขี้นข้อความดังรูปให้กดปุ่มใดๆสักปุ่มเพื่อบูตจาก CD หรือ DVD





5. เครื่องจะทำการบูตจากแผ่นรอจนกว่าจะเห็นหน้าต่างดังรูปแล้วคลิก Accept


















6. หลังจากคลิกแล้วก็จะมีหน้าต่างโผล่ขึ้นมาเป็นแผงควบคุมของโปรแกรมนั่นเองและนี่ก็คือหน้าตาของโปรแกรม Norton Ghost 15.0


 คลิกที่ Back Up My Computer













7. จากขั้นตอนที่ 6 คลิก Next จะได้ดังรูปด้านล่าง


จะเห็นว่า Title Bar เป็น Back Up My Computer Wizard
จากรูปจะต้องทำการติ๊กช่องก่อนว่าจะเลือกไดร์ไหนในการสำรอง (Back Up) ถ้าไม่เลือกก็ไม่สามารถคลิก Next ได้













8. เลือกไดร์ที่ต้องการแบ็คอัพแล้วคลิก Next


ตรงนี้สำคัญที่ว่าต้องมีไดร์สำหรับเก็บข้อมูล ในรูปเป็นการแบ็คอัพไดร์ C และให้ไดร์ D เก็บ ไม่สามารถแบ็คอัพและเก็บได้ในไดร์เดียวกัน แต่ถ้ามีมากกว่า 2 ไดร์ ก็สามารถแบ็คอัพได้ทุกไดร์แต่ยกเว้นไว้ไดร์เดียวสำหรับเก็บ













9. ทำตามขั้นตอน


 สร้างจุดหมายปลายทางเพื่อเก็บ

















10. เสร็จจากขั้นตอน 9 จะมีหน้าตาดังรูปและคลิก Next ไป


ตำแหน่งที่ Pointer ชี้คือไดร์ฟที่ทำการแบ็คอัพ สามารถเปลี่ยนชื่อได้
















11.ทำตามรูปเสร็จแล้วคลิก Next


ทำตามขั้นตอนเสร็จคลิก Next

















12.คลิก Finish


จะเห็นเครื่องหมายกากะบาทในช่องเป็นผลมาจากที่เราติ๊กมาจากขั้นตอนที่ 11
















13.แบ็คอัพ


จะบอกเวลาที่เหลือโดยประมาณ


















14.เสร็จแล่ววว


ใช้เวลาไป 2 นาที กับปริมาณไฟล์ 2 GB

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิดคอมไม่ติด แก้ไขอาการเสียคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1.  ส่วนฮาร์ดแวร์
1.1 เสียงไบออส
               
สิ่งนี้ถือว่าเป็นปรอท วัดอาการป่วยของคอมพิวเตอร์ที่เป็นอยู่ว่าเกิดจากสาเหตุใด  ถ้าเปิดเครื่องแล้วมีเสียงแต่หน้าจอไม่ติดก็ยังอุ่นใจกว่าไม่มีเสียงเลย  วิธีฟังเสียงเวลาเราเปิดเครื่องขึ้นมาจะได้ยินเสียง Bios (Beep Code) ซึ่งจะมีเสียงต่างๆดังนี้          

      
        -  ดังบิ๊ฟ 1 ครั้งเครื่องปกติ
        -  ดังบิ๊ฟประมาณสองวินาทีดับอีกสองวินาทีดับ (บิ๊ฟ..บิ๊ฟ..บิ๊ฟ..ต่อเนื่อง ) Ram หลวม  *เครื่องไม่ติด
        -  ดัง บิ๊ฟ..บิ๊ฟๆๆๆๆ ลักษณะนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก การ์ดจอหลวม  *เครื่องไม่ติด
        -  ดังเสียงเหมือนไซเรนรถพยาบาล อาการนี้เกิดจากไม่ได้ติดตั้งซีพียู หรือติดตั้งไม่ดีควรเช็คอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 45 °C    *อาจติดหรือไม่ติดก็ได้
        -  มีเสียงดังบิ๊ฟมากกว่าหนึ่งครั้งแต่เครื่องติด ซึ่งก็อาจจะเป็นการเตือนให้ดูการแจ้งเตือนตอนเครื่องบูต
        -  ไม่มีเสียงเลย เท่าที่เคยเจอบางเครื่องไม่มีเสียงเลยแต่หน้าจอดันติดทั้งที่ลำโพงไบออสก็มีโดยส่วนตัวคิดว่าเมนบอร์ดนั้นไม่ได้คุณภาพ
       * หากว่าไม่มีเสียงเลยเมื่อทดลองถอดแรมออกแล้วให้วิเคราะห์เบื้องต้นได้เลยว่าเมนบอร์ดพัง แต่ถ้าคุณมีเวลาก็อาจลองต่ออุปกรณ์ 7 อย่างคือ Power Supply, Motherboard , VGA Card , Ram, Monitor , Mouse , Keyboard  ดูสิว่าหน้าจอติดหรือเปล่า


     ต่อไปหลังจากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีอาการของเสียงดังที่ได้กล่าว  ให้ถอดอุปกรณ์นั้นออกมาและเช็คดูที่หน้าสัมผัสทองแดงว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือฝุ่นเกาะหรือไม่  ถ้าไม่มีก็ให้ใส่ใหม่ให้แน่นแต่ถ้ามีให้ใช้แปรงปัดฝุ่นออก  แต่ถ้าเป็นคราบติดแน่นให้ใช้ยางลบถูเบาๆไปในทิศทางเดียวกัน  ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้เพราะจะทำให้หน้าสัมผัสทองแดงจาง  การทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือใช้น้ำยาล้างคอนแทคซึ่งหาซื้อได้ตามบ้านหม้อหรือร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
1.2  ไฟคีย์บอร์ด
        คีย์บอร์ดสามารถบอกอะไรคุณได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปกติหรือไม่  แล้วถ้าปกติมันเป็นยังไง  ถ้าไม่ปกติคือไฟ Num Lock ค้าง ถ้าปกติเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ลองสังเกตุไฟที่คีย์บอร์ดซึ่งจะมีไฟ Num Lock , Caps Lock , Scroll Lock ว่าเป็นลักษณะใด  จะเห็นได้ว่าไฟทั้งสามปุ่มจะติดตอนบูตวินโดว์แล้วดับไปนี่คือปกติหรือตอนที่เครื่องบูตแล้วลองกดปุ่ม Num Lock  ดูแล้วไฟติดกดอีกทีไฟดับก็ปกติเช่นกัน  การจะทดสอบกรณีนี้ใช้เมื่อจอไม่ติดถ้าจอไม่ติดแต่กดปุ่มแล้วไฟติดแสดงว่าจอหรือการ์ดจอเสียแต่ถ้าปล่อยสาย connect ของจอไว้แล้วเปิดสวิทช์จอมีข้อความ No Signal ก็แสดงว่าจอไม่ได้เสีย  และการทดสอบกรณีนี้เพื่อต้องการทดสอบเคสเช็คว่าอุปกรณ์ภายในเคสทำงานได้ปกติ

1.3  ไฟหน้าเคส
       ที่เคสจะมีไฟสีแดงและสีเขียว  สีแดงบ่งบอกการทำงานของฮาร์ดดิส  สีเขียวแสดงถึง Power การสังเกตุกรณีนี้จะมีลักษณะคล้ายกับหัวข้อ 1.2  และสามารถสังเกตุได้พร้อมกัน  โดยปกติเมื่อเปิดเครื่องจะเห็นไฟสีเขียวติดตลอด แต่ไฟสีแดงจะกระพริบ  แต่ถ้าไม่ปกตินั่นคือไฟแดงค้างตลอดหรือเวลากดปุ่มวินโดว์ที่คีย์บอร์ด (ที่เป็นรูปธงโลโก้ของวินโดว์ตำแหน่งอยู่ถัดจากปุ่ม Alt,Ctrl )แล้วไฟแดงไม่กระพริบ
1.4 Power Supply

กรณีที่กดปุ่มเปิดเครื่องแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นเหมือนไม่ได้ทำอะไร  ไฟไม่ติดพัดลมไม่หมุน สาเหตุมาจากตัวจ่ายไฟ  สามารถทดสอบได้โดยการถอดหัวจัมพ์ที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์ทุกจุดออก แล้วให้นำสายสีเขียวกับสีดำมาช็อตกัน  ถ้าพัดลมของตัวจ่ายไฟหมุนนั่นก็แสดงว่าใช้ได้แต่ไม่เสมอไป ถ้าให้ชัวร์ที่สุดต้องใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าวัดไฟที่ออกมาซึ่งยุ่งยาก เอามาเสียบดูถ้าติดก็ใช้ได้ไม่ติดก็ใช้ไม่ได้ง่ายกว่า  ก่อนนำไปใช้งานต้องมั่นใจว่าสายไฟทุกจุดไม่หลุดหรือขาด



 2. ส่วนซอฟแวร์
        ถ้าหากว่าเปิดเครื่องแล้วผ่านในส่วนฮาร์ดแวร์สามารถบูตได้หน้าจอติดเข้า bios ได้  ให้เข้าไปเช็คในไบออสในส่วนของอุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า เช็คอุปกรณ์เช่นอาร์ดดิส ซีดีรอมไดร์ ว่าเห็นหรือไม่ เมื่อเช็คว่าผ่านแล้วก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
        ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นการลงวินโดว์ไม่ผ่าน  ซึ่งจะมีปัญหาการบูตไม่ได้บ้าง จอฟ้าบ้าง ลงไม่สมบูรณ์บ้าง ต่างๆนาๆ เราลองมาดูกันว่าปัญหาเกิดจากอะไรมีวิธีแก้อย่างไร
2.1  บูตแผ่นไม่ได้
       ให้เข้าไปที่ไบออสเช็คว่า  first boot เป็นซีดีรอมไดร์หรือไม่และ second boot เป็นฮาร์ดดิส  แต่ถ้าตั้งค่าตามนี้แล้วยังไม่ยอมบูตแผ่น  ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่เป็นไปได้ว่าแผ่นไม่ได้สร้างแบบบูตได้ การทดสอบว่าแผ่นบูตได้หรือไม่นั้นให้ลองเปิดแผ่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ปกติและเมื่อใส่แผ่นเข้าไปมันจะ autorun เองโดยที่เราไม่ได้คลิกเปิดแผ่น

2.2  วินโดว์ไม่ support

หลังจากผ่านข้อ 2.1 แล้วแต่กลับมีข้อความขึ้นแปลได้ว่าไม่สามารถทำต่อได้ต้องมั่นใจว่าเป็นแผ่นวินโดว์ตัวใหม่ที่ support กับฮาร์ดดิสแบบ sata



 2.3  การก็อปปี้สะดุด

การก็อปปี้ไฟล์จะต้องไหลลื่นไม่สะดุดแต่ถ้าสะดุดแล้วสามารถก็อปได้ 100 % ก็โอเค  แต่ถ้าต้องข้ามการก็อปปี้นั้นไม่ควรทำ  สาเหตุนี้เกิดจากซีดีรอมไดร์หรือแผ่นไม่สามารถอ่านได้ให้เปลี่ยนแผ่นดูก่อนว่าผ่านหรือไม่










2.4  จอฟ้า (Blue Screen)


ให้แปลตามโค๊ตที่ปรากฏ 0x000000XX